ทุกวันนี้โลกออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว ชีวิตในหนึ่งวันของหลายคนอาจจะอยู่ในโลกออนไลน์หลายชั่วโมง ไม่เว้นแม้แต่ทำงานออนไลน์
ปัจจุบันนี้เรามีอาชีพเดียวไม่ได้แล้ว เราควรมีอาชีพสำรองหรืองานสำรองไว้เผื่อสิ่งไม่ไม่คาดฝัน ยกตัวอย่างเช่น Covid-19 เป็นต้น หากเรามีอาชีพเดียวแล้วได้รับผลกระทบโดยตรงจาก Covid-19 เราก็ต้องถามตัวเองว่า เรามีเงินสำรองพอหรือป่าว หากมีการปิดเมือง ต้องอยู่กับบ้าน ถูกลดเงินเดือน หรือไม่จ่ายเงินเดือนจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น หากมีเพียงพอ พอกี่เดือน แต่ถ้าหากมีไม่พอล่ะจะทำยังไง เพราะคนหาเช้ากินค่ำหรือมนุญย์เงินเดือนทั่วๆ ไป เงินเก็บอาจจะไม่มากพอ บางคนต้องรับผิดชอบหลายอย่าง และมีครอบครัว การหารายได้เสริมหรืออาชีพสำรองก็จำเป็นอย่างยิ่ง
บทความนี้จะมาแนะนำอาชีพสำรองโดยการทำผ่านออนไลน์ที่ทุกคนน่าจะทำได้ ขอเรียงจากความง่ายไปหายากแล้วกันครับ
1. ขายของออนไลน์
เริ่มอย่างแรก ขายของออนไลน์ ทุกคนทำได้แน่นอน เรียนรู้ได้ไม่ยากครับ หากคุณเป็นคนชอบชอปปิ้งออนไลน์ด้วยแล้วล่ะก็ คุณเข้าใจไม่ยาก แต่หากคุณไม่มีความรู้อะไรเลยไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างเพิ่งบอกว่าทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ของแบบนี้เรียนรู้กันได้
ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มให้เราเลือกขายสินค้าของเรา แต่ผมแนะนำ Shopee (ไม่มีส่วนได้เสียอะไร) เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายที่สุดเท่าที่ผมลองมาจากหลายๆ ที่ ถึงแม้จะไม่ดี 100% แต่ก็ดีที่สุดในบรรดาแพลตฟอร์มที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทย
คำถามต่อมาคือแล้วจะขายอะไรดีล่ะ อันนี้ตอบยากมาก แต่ผมแนะนำแบบนี้นะ ขายสินค้าที่ตัวเองชอบและมีความรู้กับตัวสินค้านั้นมากพอ ตอบคำถามลูกค้าได้เป็นอย่างดี คือต้องกลับไปคิดว่าเราชอบอะไร ถนัดอะไร จะทำขายเองหรือรับมาขายก็ได้ทั้งนั้น แต่ควรดูราคาร้านอื่นก่อนว่าเค้าขายกันกี่บาท ราคาเท่าไหร่ เราสู้ราคาเค้าได้หรือป่าว หรือเรามีอะไรดีกว่าเค้า สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการบริการ หากบริการไม่ดี Shopee มีระบบการให้คะแนน ฉะนั้นหากสินค้าเราไม่ดี บริการเราไม่ดี นั่นคือเราจะได้คะแนนน้อย ทำให้ร้านเราเป็นตัวเลือกรองจากร้านอื่นที่มีคะแนนดีกว่า
การขายนั้นทำไม่ยาก สามารถทำได้ทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ และทาง Shopee เองก็มีการช่วยเหลือต่างๆ สำหรับคนขาย มีศูนย์การเรียนรู้ แม้แต่โทรศัพท์ไปสอบถามก็ยังได้
2. Youtuber
มาต่อด้วยอย่างที่สอง Youtuber ทำไมต้องเป็น Youtube ที่อื่นก็มี ตรงนี้ผมเน้นใช้งานง่าย คนใช้เยอะไว้ก่อนแล้วกันครับ และคนไทยส่วนใหญ่ก็ชินแล้วกับแพลตฟอร์มนี้แล้ว
Youtube ได้เงินยังไง ตามที่เข้าใจกันคือได้ตามยอดวิวนั่นเอง แต่ Youtube มีระบบการนับ ซึ่งมันเชิงวิชาการมากไป เอาเป็นว่าได้เงินจากยอดวิวแล้วกัน ยิ่งยอดวิวเยอะ ก็ได้เงินเยอะ แต่การสมัครนั้นมีเงื่อนไข และเริ่มเข้มงวดมากขึ้นจากเมื่อก่อน รายละเอียดคร่าวๆ มีตามนี้
ข้อกำหนดขั้นต่ำของการได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมโปรแกรม
1. ปฏิบัติตามนโยบายการสร้างรายได้ของ YouTube ทั้งหมด
นโยบายการสร้างรายได้ของ YouTube คือชุดนโยบายที่อนุญาตให้คุณสร้างรายได้บน YouTube หากคุณเป็นพาร์ทเนอร์ YouTube ข้อตกลงของคุณซึ่งรวมถึงนโยบายโปรแกรมพาร์ทเนอร์ YouTube กำหนดให้คุณปฏิบัติตามนโยบายการสร้างรายได้เหล่านี้เพื่อให้มีโอกาสสร้างรายได้บน YouTube
2. อาศัยอยู่ในประเทศหรือภูมิภาคที่มีโปรแกรมพาร์ทเนอร์ YouTube พร้อมให้บริการ
3. มีเวลาในการรับชมวิดีโอสาธารณะที่เข้าเกณฑ์มากกว่า 4,000 ชั่วโมงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
4. มีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คน
5. มีบัญชี AdSense ที่ลิงก์ไว้
ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://support.google.com/youtube/answer/72851?hl=th
ต่อมาเราจะทำยังไง
ขอเริ่มจากท่านควรมีบัญชี Gmail ของ Google จากนั้นก็ลงชื่อเข้าใช้ที่ Youtube สร้างช่องให้เรียบร้อยพร้อมรายละเอียดที่ต้องใส่ลงไป
แล้วเราจะทำวีดีโออะไร
ผมก็จะบอกแบบเดิม คือทำที่เราชอบและถนัด แต่ Youtube มีกฎ ฉะนั้นควรศึกษากฎให้ดี และเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ ไม่ควรอยู่ในวีดีโอของเรา โดยเฉพาะเพลง ซึ่ง Youtube เองก็มีคลังเพลงให้เราเลือกใช้โดยไม่ติดลิขสิทธิ์เช่นกัน
ต้องใช้กล้องอะไรถ่าย
ตามงบประมาณที่ท่านมีเลย จะใช้กล้องโทรศัพท์มือถือถ่ายก็ได้ แต่ควรมีอุปกรณ์กันสั่น หรือใครที่ทำวีดีโอมาจากคอมพิวเตอร์ แบบนี้ไม่ต้องใช้กล้องเลย เช่น เล่นเกมส์, สอนใช้โปรแกรม เป็นต้น ความละเอียดที่เราถ่ายวีดีโอควรเป็น 1080P
แรกๆ อาจจะไม่ดี เราก็ค่อยๆ ปรับปรุงไปเรื่อยๆ อย่าท้อ อัพเดทวีดีโออยู่ตลอดเวลา มีช่องทางการติดต่อเช่น เฟสบุ๊คเพจ เป็นต้น
การทำ Youtube นั้นไม่ควรไปกระทบกับงานหลัก ควรหาเวลาว่างทำ นอกเสียจากว่าคุณทำ Youtube เป็นอาชีพหลัก
3. Blogger
ต่อมาก็อย่างที่สาม Blogger คือเขียนบทความให้คนอ่านนั่นเอง หากคุณคิดว่าคุณสามารถเขียนเรื่องราวที่น่าสนใจ, สนุก, มีจิตนาการ หรือแม้แต่วิชาการ คุณก็เป็น Blogger ได้
เริ่มต้นจากของฟรี โดยผมขอแนะนำ blogger.com ของ Google หากคุณมีบัญชี Gmail คุณก็ใช้ Blogger ได้เลย เห็นมั้ยไม่ยาก แต่ไม่ใช่ว่ามีแต่ Blogger นะแพลตฟอร์มอื่นก็มี ซึ่งผมขอแนะนำที่ใช้งานง่ายๆ ก่อนแล้วกัน
การเขียนบทความ หากบทความของคุณน่าสนใจ มีคนอ่านมีคนแชร์เยอะ คุณก็มาได้ครึ่งทางแล้ว ถ้าบทความของคุณเป็นเชิงวิชาการ หรือต้องใช้ข้อมูลเชิงลึก คุณควรมีแหล่งอ้างอิงให้ที่ชัดเจน อย่านั่งเทียนเขียนโดยไม่มีข้อเท็จจริง บทความควรจะอ่านง่าย เข้าใจง่าย ไม่วกไปวนมา อธิบายได้ดี ใช้คำ ใช้ประโยคได้ถูกต้อง และควรมีภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์ด้วยอย่างน้อยสัก 1 ภาพ ในบทความของคุณ (ถ่ายเองหรือหาที่เว็บไซค์ที่มีให้บริการ)
การเขียนบทความก็เหมือนกับ 2 อย่างด้านบน คือเขียนสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราถนัด มันจะออกมาดีเอง มือใหม่ควรลองเขียนเรื่องบันเทิงต่างๆ แฟชั่น การรีวิว การสอน หรือจะวิชาการ หากเรามีความรู้พอ
การหาเงิน
การทำ Blog เขียนบทความนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราจะหารายได้จากป้ายโฆษณา แต่ที่ง่ายที่สุดคือ AdSense เหมือนกับ Youtube แต่ต้องสมัครเพิ่ม เพราะแบบนี้คือ AdSense for Web แล้วก็มีเงื่อนไขเหมือนกันกับ Youtube ซึ่งไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่ผมก็พอบอกคร่าวๆ ได้
1. Blog ต้องมีอายุโดยประมาณ 5-6 เดือน
2. บทความควรมีอย่างน้อย 15-20 บทความ
3. เขียนเอง ใช้ภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์
4. ต้องมีคนเข้ามาที่ Blog เราบ้าง มีคนแชร์ ฉะนั้นบทความเราต้องดี มีคุณภาพ น่าอ่าน
5. ข้อนี้มือใหม่อาจจะงง คือควรจดโดเมนเนมกับ Google เป็นชื่อเว็บของเรา ราคาต่อปีประมาณ 400 บาท ตัวอย่างเช่น www.mydomain.com เป็นต้น
6. ควรเปลี่ยนหน้าตาของ Blog เราให้ดูสวยงาม (Template) ซึ่งสามารถหาซื้อจากเว็บ https://themeforest.net/category/blogging/blogger ราคาไม่แพงมาก
อย่าลืมแชร์บทความของเราไปที่โซเชียลเพื่อให้คนเข้าถึงบทความของเรามากขึ้น (อย่าสแปม)
รายได้มาจากการเข้าชมและการคลิ๊กป้ายโฆษณา (อย่าเชิญชวน ร้องขอให้ใครมาช่วยคลิ๊ก Google ฉลาดกว่าที่คุณคิด คุณอาจจะโดนแบนได้)
4. ถ่ายรูปขาย
มาถึงอย่างที่สี่ สำหรับคนชอบถ่ายรูปโดยต้องมีกล้องอยู่แล้ว หลายคนไม่รู้ว่ารูปที่เราถ่ายนั้นสามารถนำไปขายได้ แถมยังเป็นการฝึกไปในตัว มีเว็บหลายเว็บมากที่เอารูปของเราไปขายได้ แต่ตรงนี้ก็ควรมีทักษะภาษาอังกฤษสักหน่อย เพื่อจะได้ลงรายละเอียดรูปของเราตอนลงขาย รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ในการสมัคร ขายรูปคือลงครั้งเดียวก็ขายได้ยาวครับ เป็นรายได้เสริมอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจ คนที่ซื้อคือคนที่ทำคอนเท้นต์ต่างๆ คนทำเว็บไซค์ โดยที่เค้าหารูปที่ถูกใจไม่ได้จากเว็บที่แจกฟรี จึงต้องหาซื้อรูปที่ช่างภาพถ่ายขายกัน และที่สำคัญเราขายให้กับคนทั่วโลก
รายชื่อเว็บบางส่วนที่นำรูปไปขายได้ (ท่านต้องเป็นเจ้าของรูปนะ)
- Getty Images
- Shutterstock
- iStock
- 500px
- Stocksy
- Can Stock Photo
- FreeDigitalPhotos.net
- Adobe Stock
- Fotolia
- PhotoDune
- Alamy
- Twenty20
- Depositphotos
- Dreamstime
- GL Stock Images
- EyeEm
- Image Vortex
- Crestock
- 123RF
- Foap
สรุป มันไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ หากคุณเป็นมือใหม่ แต่ส่วนตัวผมคิดว่า แบบที่ 1 กับแบบที่ 2 ง่ายสุด ตามลำดับ สิ่งที่เขียนมาข้อมูลอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ละเอียด บางอย่างต้องอธิบายกันยาว สามารถเขียนเป็นอีกบทความนึงได้เลย ฉะนั้นหากท่านสนใจควรหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือสอบถามมาได้ที่คอมเม้นต์ บทความนี้อย่างน้อยก็เป็นแนวทางในการหาอาชีพสำรองหรืออาชีพเสริม เพื่อหารายได้อีกหนึ่งช่องทาง มันไม่มีอะไรได้มาง่าย ขอแค่สนใจ มีความพยายาม ศึกษา เรียนรู้ แล้วทุกอย่างก็จะดีเอง
COMMENTS